October 26, 2014

Comp2TV

สอนต่อคอมพิวเตอร์เข้าทีวี ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้


ที่มา :   http://www.lcdtvthailand.com

updated: 2014-09-12 19:18:59
By: Tony



สวัสดี ครับวันนี้นาย ToNy จะพาไปรับชมวิธีการต่อคอมพิวเตอร์ของคุณให้ขึ้นมาแสดงผลบนจอทีวีกัน โดยบท ความนี้เหมาะสำหรับ "มือใหม่" หรือผู้ที่เริ่มต้นใช้งานนั่นเอง ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเห็นกัน บ้างแล้วถึงประโยชน์ของมันที่ทำให้รับชมภาพแบบใหญ่จุใจกว่าจอมอนิเตอร์ที่ บ้าน ไม่ว่าจะดูหนัง เล่นเน็ต ท่องเว็บ นำเสนอผลงาน หรือขายของ และอื่นๆอีกมากมายแล้วแต่จะนำไปใช้งานกัน แต่คุณกำลังประสบปัญหานี้หรือไม่ !!!? ไม่รู้ว่าจะใช้สายอะไร เสียบเข้าช่องต่ออันไหน หรือต่อแล้วภาพไม่ขึ้นแก้ไขอย่างไรดี เราจะมาคลายข้อสงสัยนั้นกันแบบ "สั้นๆได้ใจความ" ถ้าพร้อมจะลุยแล้ว  ตามมาได้เลย

STEP 1 :: ขั้นตอนแรก ตรวจสอบว่าทีวีและคอมพิวเตอร์ของคุณมีช่องต่ออะไรบ้าง ??


 
Note :: ถ้า จะพูดกันแบบบ้านๆให้เข้าใจง่าย การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเข้ากับ ทีวีของเรานั้น ต้องมีช่องต่อ Output จากคอมพิวเตอร์ไป Input ที่ทีวี เท่านั้นเองครับ ส่วนการเดินทางมาของสัญญาณบางทีไม่มีตรงๆ ก็ต้องหาตัวแปลง หรือเล่นแร่แปรธาตุว่ากันไปตามอุปกรณ์ที่เรามี
  



ช่องต่อ HDMI : ถ้า ทีวีของคุณเป็น LCD TV , LED TV, PLASMA TV แน่นอนว่าต้องมีช่องต่อแบบ HDMI ( High-Definition Multimedia Interface ) มาให้อยู่แล้ว ให้เราใช้ สาย HDMI เชื่อม ต่อเข้าไปโดยตรงเลยระหว่างคอมพิวเตอร์และทีวี เป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ง่ายที่สุด และที่สำคัญ มือใหม่บางท่านอาจจะไม่รู้ว่าเจ้าสาย HDMI มันรวมทั้งภาพและเสียงไว้ในเส้นเดียวกันซะด้วย ไม่ยุ่งยากอย่างที่ คิด ตัวอย่างเช่นเราเล่นเกมส์ในคอมพิวเตอร์แล้วใช้สาย HDMI ต่อแสดงผลออกจอทีวี เสียงในเกมส์ที่เราเล่นก็จะออกที่ลำโพงของทีวีด้วย !!! และในปัจจุบันนี้การ์ดจอของคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็จะมีช่องต่อ HDMI Out มาให้แล้วเช่นกัน ตั้งแต่รุ่นที่ราคาหลักร้อยไปจนถึงหลักหลายๆพัน หรือถ้าเป็นโน๊ตบุ๊คปัจจุบันก็มีช่องต่อ HDMI Out มาให้เช่นกัน

ข้อ ดีอีกหนึ่งอย่างของการใช้สาย HDMI คือการปล่อยสัญญาณแบบ Digital To Digital ทำให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้นั้นไม่ถูกลดทอนลงไปเหมือนสายชนิดอื่นเช่น สาย VGA ที่เป็น Analog ก็ต้องผ่านการแปลงจาก Digital เป็น Analog ก่อน อะไรก็ตามที่ถูกแปลงสัญญาณ คุณภาพของมันก็ต้องมีลดลงบ้างไม่มากก็น้อย จริงไหมครับ?

Recommended :: ด้วย คุณภาพอย่างที่ผมบอกไป จึงแนะนำให้ทุกท่านเชื่อมต่อด้วยวิธีนี้ครับ เหมาะมากๆกับการดูหนังความละเอียดระดับ HD ( High-Definition ) 1080P รวมทั้งให้คุณภาพเสียงที่เยี่ยมยอดอีกด้วย
 

ตัวอย่างช่องต่อ HDMI จาก LCD TV


สาย HDMI LCDTVTHAILAND


เปรียบเทียบระหว่างภาพ HD ที่ใช้สาย HDMI กับ SD ที่ใช้สายธรรมดา


ช่องต่อ VGA PC :: สำหรับ อีกสายหนึ่งที่มีให้เลือกใช้ในการเชื่อมต่อกับทีวี ก็คือสาย VGA ( ส่วนใหญ่จะเป็นหัวสีน้ำเงิน ) ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อเข้าที่ด้านหลังทีวีได้ทันที เราจะพบเจอได้ทั่วไปในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คแทบทุกรุ่นและคอมพิวเตอร์ PC ที่ใช้การ์ดจอแบบ Onboard หรือการ์ดจอรุ่นเก่าๆ โดยสาย VGA นี้จะปล่อยสัญญาณแบบ Analog ก็เลยต้องแปลงจาก Digital เป็น Analog และกลับเป็น Digital ออกทีวีอีกทีหนึ่ง หลายขั้นตอนกว่า จึงทำให้คุณภาพของภาพที่ต่อออกมาด้อยกว่าแบบแรกครับ และสาย VGA นี้จะส่งสัญญาณภาพได้อย่างเดียวนะครับ ถ้าจะให้เสียงออกต้องเล่นไสยศาสตร์กันสักหน่อย ไม่ใช่แล้วครับ !!! วิธีที่ถูกต้องคือใช้สายแจ๊คแบบ 3.5 mm. ทั้งสองหัว เชื่อมต่อออกไประหว่างคอมพิวเตอร์และทีวีเท่านั้นเอง
 

ตัวอย่างช่องต่อ VGA ( PC ) ที่ด้านหลังทีวีครับ


สาย VGA



ช่องต่อตรงกลางไว้สำหรับ VGA ครับ ซึ่งหน้าตาแบบเดียวกับที่อยู่บนทีวี 



DVI to HDMI  ไม่ยาก !! สำหรับ คอมพิวเตอร์แบบ PC ที่ใช้กันตามบ้านเรานั้น มีบางรุ่นที่การ์ดจอเป็นแบบ DVI  แต่ว่าทีวีนั้นไม่มีช่องต่อแบบ DVI ทำให้เราต้องพึ่ง "ตัวแปลง" ชนิดต่างๆ ทั้ง DVI to VGA หรือ DVI to HDMI  รูปแบบของการแปลงนั้นมีทั้งสายสำเร็จรูป หรือเป็น อแดปเตอร์ อันนี้ก็แล้วแต่ทรัพยากรณ์แถวบ้านท่านที่จะสามารถหามาได้เลยครับ อ้อ.. ข้อแตกต่างของ DVI กับ HDMI นั้น ในเรื่องภาพแทบจะไม่ต่างกัน เพียงแต่เจ้า DVI นั้นจะไม่ได้รวมการส่งสัญญาณ "เสียง" เอาไว้ด้วยครับ

 

สาย DVI to HDMI



อแดปเตอร์แปลงจาก DVI ไปเป็น HDMI
 

ไม่ได้ใช้สาย HDMI ทำอย่างไรให้เสียงไปออกทีวี ??สำหรับ "มือใหม่" บางคนที่ไม่ได้ใช้สาย HDMI ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับทีวี มักจะพบกับปัญหานี้ คือต้องการให้เสียงไปออกที่ลำโพงของทีวีนั่นเอง วิธีการที่ง่ายที่สุด  (ถ้าไม่นับการต่อผ่านแอมป์) ก็คือ

- ใช้สายชื่อมต่อแบบ Mini 3.5 มม. จากคอมพิวเตอร์ไปเข้าที่ Audio ขาว/แดง บนทีวีนั่นเอง

สายเชื่อมต่อที่เรียกว่า Mini To RCA หรือแบบ 3.5 มม. ที่นิยมเรียกกัน

ต่อเข้าช่องนี้ไปเลยครับ Audio IN สีขาวแดง



STEP 2 :: ขั้นตอนที่ 2 เชื่อมต่อแล้ว มาตั้งค่าในคอมพิวเตอร์อย่างไรกันดี

หลังจากที่เราเลือกสายต่างๆมาต่อเข้าคอมพิวเตอร์ แล้ว จากนั้นสิ่งต่อมาที่ควรจะรู้กันก็คือ การตั้งค่าในคอมพิวเตอร์และทีวีครับ ปกติถ้าเราเชื่อมต่อสายเข้าไปแล้วภาพจะแสดงผลขึ้นมาทันทีอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดมันเล่นตลกกับเรา "ภาพไม่ขึ้น" ก็ต้องตรวจสอบที่ Driver ของตัวคอมพิวเตอร์ตัวนั้นว่าได้ลงไว้เรียบร้อยหรือยังและควรจะทำการ Update ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่ง Driver ในแต่ละค่ายทั้ง Nvidia และ ATi ก็จะมีโปรแกรมควบคุมต่างๆ ซึ่งผมจะใช้วิธีการตั้งค่าจากตัว Window เองเบื้องต้นและ Nvidia Control นะครับ สำหรับ ATi นั้นก็ใช้วิธีการปรับแบบเดียวกัน แต่หน้าตาของตัวควบคุมจะต่างกันเล็กน้อย ซึ่งของ ATi เรียกว่า ATi catalyst เรามาดูกันได้เลยครับ

กดคลิกขวาที่หน้าจอ Desktop แล้วเลือก Properties ขึ้นมา จากนั้นไปที่หัวข้อ Settings จะพบกับหน้าจอนี้
 

 
กรอบสี่เหลี่ยมตรงกลางที่มีเลข 1 และ 2 คือการแสดงผลระหว่างหน้าจอโน้ตบุ๊คและจอทีวีครับ ตรวจสอบว่าเราติ๊กถูกที่ Extend my Windows desktop onto this monitor หรือยัง เมื่อทำแล้วภาพก็จะแสดงผลขึ้นมาบนหน้าจอของทีวีโดยเราเลือก ความละเอียดที่แสดงผลได้เองเช่นในภาพคือ 1920 x 1080 ( ตรงจุดนี้แนะนำให้ปรับตั้งตามสเปคของทีวี เช่นทีวีของเราเป็น Full HD ก็ปรับแบบ 1920 x 1080 ถ้าเป็น HD ready ก็ปรับให้เป็น 1366 x 768 ครับ )

 

หน้าตาของ Nvidia Control เมื่อเราเชื่อมต่อเข้ากับทีวีเรียบร้อยแล้ว
 
เมื่อเราปรับตั้งค่าให้เชื่อมต่อกับทีวีเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้ามาที่ Nvidia Control เพื่อปรับขนาด ( Resolution ) ของหน้าจอทั้งสองได้เลยครับ เช่นในรูปผมเชื่อมต่อเข้ากับ LED TV Samsung ก็จะแสดงแบบนี้
 
วิธีการปรับตั้งค่าหน้าจอทั้งสองให้เป็นอิสระต่อกันหรือให้แสดงภาพเหมือนกัน

สำหรับ การตั้งค่าของหน้าจอการแสดงผลนั้น เราคงเคยเห็นกันบ่อยๆว่า บางทีเวลานั่งดูการนำเสนอผลงานต่างๆนั้น หน้าจอโน้ตบุ๊คกับหน้าจอทีวีแสดงผลต่างกัน หรือเรียกได้ว่ามันเป็น "อิสระต่อกัน" เราเรียกการทำงานลักษณะนี้ว่าDual View ครับ ส่วนอีกแบบหนึ่งคือทั้งสองหน้าจอแสดงภาพเหมือนกันทุกอย่างเราจะเรียกว่า Clone View เช่นเดียวกันเราสามารถเลือกปรับได้ตามความต้องการ โดยวิธีดังนี้
 

เข้าไปที่ Nvidia Control Panel แล้วเลือกหัวข้อ Set up multile displays


สามารถเลือกปรับได้ตามต้องการเลยครับ
 
ข้อแตกต่างระหว่าง Dual View และ Clone View ยกตัวอย่างเช่น โน้ตบุ๊คเครื่องหนึ่งมีความละเอียดที่ 1366 x 768 ส่วนหน้าจอทีวีมีความละเอียดเป็น Full HD 1920 x 1080

กรณีแรก :: ถ้า เราเลือกเป็น Clone View ภาพทั้งสองจะแสดงผลเต็มจอทั้งสองหน้าจอ แต่ความละเอียดจะอิงตามคอมพิวเตอร์คือ 1366 x 768 ทำให้ภาพบนทีวีนั้นแสดงผลแบบไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น

กรณีที่สอง :: ถ้า เราเลือกเป็น Dual View คือหน้าจอทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน เราจะเลือกปรับเฉพาะหน้าจอของทีวีให้เป็น 1920 x 1080 ได้ทันที เมื่อเราโยนภาพไปอีกหน้าจอหนึ่งเช่นหนัง HD ความละเอียดสูง เราก็จะได้ความคมชัดเต็มที่

 
 
ตัวอย่างการแสดงผลแบบ Clone View




Window 7


** สำหรับ Windows7 ** นั้นง่ายมากครับ เพียงแค่กดปุ่ม ( Window + P ) บนคีย์บอร์ด
ก็สามารถเลือกปรับการใช้งานได้เลย
 
 1. Duplicate ทำงานเหมือน Clone View คือแสดงหน้าจอเหมือนกันทั้งทีวีและคอมพิวเตอร์
 2. Extend ทำงานเหมือน Dual View จะแสดงหน้าจอแยกเป็นสองส่วนได้
 3. Computer Only คือการใช้งานแบบปกติ ไม่ได้ต่อออกหน้าจออื่นๆ
 4. Projector Only คือการปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คของเรา ให้แสดงแต่หน้าจอทีวีอย่างเดียว
 

อีกวิธีหนึ่งก็คือการเข้าไปที่ Display Setting เลือกปรับตรง Multiple Displays


ถ้าเป็น Extend เราก็เลือกปรับความละเอียดของหน้าจอที่ 2 ที่แสดงผลได้ตรงนี้เลย
 
สุดท้ายนี้การต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับทีวี นั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ แต่ในปัจจุบันผมก็ยังเห็นว่าวิธีการเชื่อมต่อโดยสาย HDMI นั้นเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด และให้ทีวีของคุณแสดงศักยภาพออกมาได้ดีที่สุดครับ ส่วนวิธีการปรับ Resolution ก็แนะนำให้ปรับเท่ากับจอทีวี ถ้าทีวีเรา Full HD 1920 x 1080 ก็ปรับในคอมพิวเตอร์ให้แสดงเป็น 1920 x 1080 เช่นเดียวกันครับ เพียงเท่านี้ทีวีของคุณก็จะแสดงผลได้เต็มที่แล้วครับ

เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงหลังๆ คอมพิวเตอร์ตระกูลแมค อย่างเช่น MacBook, Mac Mini หรือแม้กระทั่ง Mac Pro เริ่มจะรองรับการใช้งานกับทีวีมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือการเพิ่มช่องต่อสาย HDMI เข้ามาในตัวเครื่อง ทำให้เราไม่จำเป็นจำต้องไปซื้อตัวแปลงสัญญาณมาต่อเพิ่มกรณีที่อยากดูภาพจอ ใหญ่ๆ บนทีวีราคาหลักล้านที่บ้านเรา



การถอดเอาช่องต่อที่ไม่ค่อยใช้งาน และแทนที่ด้วย HDMI ทำให้ชีวิตคนใช้แมคที่ต้องพรีเซ้นต์งานบ่อยๆ ง่ายกว่าเดิมเยอะ

สำหรับวิธีการเชื่อมต่อนั้นก็ง่ายแสนง่ายเหมือนกับบน Windows แค่เสียบสายภาพแล้วเปิดเครื่อง ภาพก็เด้งขึ้นจอให้เราแล้ว แต่สำหรับใครที่ใช้งาน MacBook แล้วอยากจะพลิกแพลงการทำงานให้มากขึ้น ก็สามารถทำตามคำอธิบายด้านล่างได้เลยครับ

1. การใช้งานแบบ Mirroring (ภาพเดียวกันทั้งบนแมคและทีวี)
การ ใช้งานแบบนี้คือทั้งจอบน Mac และจอทีวีจะแสดงภาพเดียวกันแบบโคลนนิ่งกันมาเลย โดยปกติแล้วเครื่องแมคจะถูกเซ็ตโหมดนี้มาเป็นค่าเริ่มต้นอยู่แล้ว แค่เสียบสายปั๊บภาพก็ขึ้นจอเลยไม่ต้องเซ็ตอะไรเพิ่ม แต่ว่าจะมีลูกเล่นนิดหน่อยตรงที่เราสามารถเลือกได้ ว่าจะให้แสดงผลตามความละเอียดของจอทีวีหรือจอแมคตามรูปด้านล่างเลยครับ



เมื่อเสียบสาย HDMI แล้วจะพบไอค่อนแบบนี้บน Menu bar ให้ลองคลิ๊กซัก 1 ที


เราจะพบกับ Drop-down List แบบนี้ ตรงโซน Match Desktop Size to:
ก็ให้เราเลือกได้เลยว่าอยากให้ปรับความละเอียดให้เท่ากับจอไหน อย่างกรณีนี้ติ๊กเป็น Sharp HDMI
ตัวเครื่องก็จะปรับให้แสดงผลเป็น 1920 x 1080 โดยอัตโนมัติครับ


การเชื่อมต่อแบบ Mirroring นิยมใช้กันเวลาที่เราต้องการแสดงภาพบนจอแมคให้คนอื่นได้เห็นบนจอใหญ่ๆ อย่างเช่นการสอนแต่งภาพ, สอนเขียนโค้ดอะไรทำนองนี้ครับ นับว่าเป็นการต่อขึ้นจอแบบเบสิคที่สุดที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้ค่อน ข้างดี


2. การใช้งานแบบ Extend (สองจอต่อกัน)
โหมด นี้ถูกออกแบบมาให้คนที่ประสบปัญหาพื้นที่การทำงานบนหน้าจอแมคไม่พอ ในคอนเซ็ปต์ที่ว่าเมื่อจอเดียวมันน้อยไป ก็ขยายมาอีกจอด้วยเลยละกัน! ซึ่งวิธีเซ็ตค่าก็ไม่ยากเย็นครับ ให้ย้อนกลับไปดูรูปด้านบน จะเห็นอ็อพชั่นที่มีชื่อว่า Turn Display Mirroring Off ให้คลิ๊กที่ อ็อพชั่นนี้เลยครับ ตัวจอก็จะเฟดไปแปปนึง และติดขึ้นมาใหม่ โดยเราจะพบว่าตอนนี้จอ MacBook และจอทีวีจะแสดงภาพที่ไม่เหมือนกันแล้ว ซึ่งก็คือ Desktop ของเราตอนนี้ได้ยาวขึ้นจนมาติดขอบจอทีวี จะสังเกตุได้ว่าเราต้องลากเม้าส์ยาวเฟื้อยเลยกว่าจะพ้นจอ MacBook มาโผล่บนทีวี



เราสามารถเลือกสลับตำแหน่งซ้าย-ขวา หรือสลับ Menu bar ให้ไปอยู่บนจอไหนก็ได้
เพียงแค่เข้าไปที่ System Preference > Display > Arrangement
(จากรูปนี้เราจะเห็นว่ามี Check box ของ Mirror Displays อยู่ ถ้าติ๊กถูกที่นี่ ก็จะเป็นการเลือกใช้งานโหมด Mirror ครับ)


ตอนที่เรากดเลือก Display จะพบว่ามีหน้าต่างนี้โผล่ขึ้นมาบนจอทีวีด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก
ให้เราสามารถเลือกความละเอียดของจอทีวีได้แบบแยกขาดจากจอ MacBook ซึ่งจะไม่เหมือนโหมด Mirror
ที่เราเลือกให้แสดงผลความละเอียดของจอสองจอได้แค่ค่าเดียวเท่านั้น


และนี่ก็คือโหมดการต่อภาพจาก MacBook ไปขึ้นจอทีวีซึ่งนับว่าง่ายดายไม่ต่างจากฝั่ง Windows เลย โดยโมเดลที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ HDMI จะเริ่มตั้งแต่ MacBook Pro with Retina Display เป็นต้นมาเท่านั้น รุ่นต่ำกว่านี้ก็ต้องพึ่งการใช้งานร่วมกับอะแด็ปเตอร์ Mini DisplayPort to VGA กันไปนะครับ ซึ่งหน้าตาเมนูก็เหมือนกันกับเสียบผ่านสาย HDMI ทุกประการ




แต่สำหรับท่านที่ใช้งานพวก Mac Mini หรือ Mac Pro ที่ไม่มีจอในตัว เราก็แค่เสียบสาย HDMI แล้วเปิดเครื่อง เท่านี้ภาพก็ขึ้นจอพร้อมใช้งานแล้วครับผม ขอให้สนุกกับการต่อแมคของท่านขึ้นจอทีวีนะครับ!

**สำหรับทีวี 4K จะสามารถใช้งานร่วมกับแมครุ่นดังต่อไปนี้
1. MacBook Pro with Retina Display (รุ่นปี 2013 เป็นต้นไป)
2. Mac Pro (รุ่นปี 2013)
3. iMac 27 นิ้ว (รุ่นปี 2013 เป็นต้นไป)


No comments:

Post a Comment