March 20, 2011

ภาวะข้อไหล่ติด

ที่มา    http://www.thaisportsmed.org/

พ.ท. ณัฏฐา กุลกำม์ธร
พ.ต.ปิติ รุจกิจจานนท์


ข้อ ไหล่เป็นข้อที่มีพิสัยการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ทำให้เราใช้แขนและมือทำงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ หากข้อไหล่ยึดหรือเคลื่อนไหวได้ไม่ดี จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของแขนและมือลดลง


สาเหตุของข้อไหล่ติดคืออะไร
           สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้อไหล่ติดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ในปัจจุบันมีทฤษฎีที่เชื่อว่าเกิดจากปฏิกริยาของภูมิคุ้มกันในร่างกาย  โดยทั่วไประบบภูมิคุ้มกันจะช่วยป้องกันอวัยวะต่าง ๆ จากเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม แต่ในผู้ป่วยข้อไหล่ติด ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทำหน้าที่ผิดปกติโดยจะไปโจมตีเนื้อเยื่อของร่าง กายเอง ถ้าเกิดในข้อไหล่ก็จะทำให้เกิดการอักเสบในข้อไหล่รวมทั้งเยื่อหุ้ม จากนั้นการอักเสบก็จะรุนแรงขึ้นทำให้มีการหดรัดและแข็งตัวของข้อไหล่จนไม่ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ

           สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการข้อไหล่ติดที่พบได้บ่อยได้แก่ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิด กล้ามเนื้อฉีกขาด อักเสบ หรือกระดูกหักหรือเคลื่อนบริเวณข้อไหล่, การใช้งานข้อไหล่อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบ, การเสื่อมของข้อไหล่, โรคข้ออักเสบ(โรครูมาตอยด์, โรคเกาท์), การมีเส้นเอ็นอักเสบร่วมกับมีแคลเซี่ยมมาเกาะ

รูปแสดง 1. ข้อไหล่ปกติ        2. ข้อไหล่ที่มีการยึดติด

อาการ
         อาการของโรคข้อไหล่ติดจะเริ่มจากการเจ็บข้อไหล่อยู่เป็นระยะเวลานานหลาย สัปดาห์หรืออาจจะเป็นเดือน  มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวบริเวณหัวไหล่  จากนั้นอาการปวดจะลดลงจนเริ่มฟื้นตัวทำให้เคลื่อนไหวขยับข้อไหล่ได้ดีขึ้นจน ผู้ที่มีอาการข้อไหล่ติดเข้าใจว่าอาการดีขึ้นแล้ว  แต่หากสังเกตให้ดีจะพบว่าหลังจากอาการปวดดีขึ้นการเคลื่อนไหวของแขนและข้อ ไหล่จะยังทำได้ไม่เต็มที่เคลื่อนไหวได้ไม่สุดหรือไม่ดีดังเดิม
วิธีสังเกตว่าเป็นโรคข้อไหล่ติดแข็ง
            สามารถสังเกตได้ขณะใช้งานแขนในลักษณะท่าทางต่างๆแล้วจะรู้สึกเจ็บไหล่ เช่นล้วงกระเป๋าหลังของกางเกงที่สวมอยู่ ไม่สามารถยกแขนเหนือศีรษะเพื่อหยิบของที่สูงได้ไม่สามารถเอามือไขว้หลัง เพื่อถูหลังตัวเองหรือสระผมตัวเองได้ไม่สามารถกางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่า มือขึ้น เป็นต้น

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็ง
           พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายอายุโดยเฉลี่ย 40-65ปี โรคเบาหวาน และโรคอื่น ได้แก่ โรคไทรอยด์, หัวใจขาดเลือด, โรคซึมเศร้า, โรค Parkinson และการบาดเจ็บของระยางค์บน เป็นต้น
การดำเนินโรค
ระยะที่ 1 Pre-adhesive phase  (3 เดือนแรก) 
ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปวดตอนกลางคืน ตรวจร่างกายพบว่า พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ยังคงปกติ
ระยะที่ 2 Painful phase “Freezing” (3-9 เดือน) ปวด มากตอนกลางคืน และเมื่อมีการเคลื่อนไหว เป็นระยะที่มีอาการปวดมากที่สุด ตรวจร่างกายพบว่า มีการลดลงของพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
ระยะที่ 3 Progressive stiffness phase “Frozen” (9-15 เดือน)
ข้อไหล่ติดทั่วๆปวดน้อยลง จะปวดเฉพาะเมื่อเคลื่อนข้อไหล่เต็มที่ ตรวจร่างกาย มีการลดลงของพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
ระยะที่ 4 Resolution phase “Thawing” (15-24 เดือน)
อาการปวดลดลงขยับแขนได้มากขึ้นตามลำดับ ตรวจร่างกายพบว่าพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ค่อยๆดีขึ้น

กราฟระหว่างระยะเวลาการดำเนินโรคกับอาการปวด
การดูแลรักษาตนเองจากภาวะข้อไหล่ติดแข็ง
             การรักษาภาวะข้อไหล่ติดจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลานานมากจนทำให้ผู้ป่วยเกิด ความรำคาญและกังวลใจ แต่โดยทั่วไปร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีภาวะนี้อาการจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ
ระยะที่ 1 และ 2 จะเริ่มทำการรักษาโดยให้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวด ร่วมกับให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นภาวะ ที่พบร่วมด้วยในผู้ป่วยที่มีข้อไหล่ติดแข็ง ผู้ป่วยไม่ควรไปนวดหรือทำกายภาพบำบัด เพราะจะทำให้มีอาการปวดมากยิ่งขึ้น แต่สามารถเริ่มบริหารข้อไหล่ได้เองที่บ้าน
ระยะที่ 3 และ 4 การทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายดังตัวอย่างจะช่วยให้พิสัยการเคลื่อนไหว ของข้อไหล่กลับมาเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากอาการไหล่ติดเป็นปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวันมาก หรือกินระยะเวลานานมาก การรักษาโดยการดัดข้อไหล่ภายใต้การดมยาสลบ (MUA: Manipulation under anesthesia) จะสามารถทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่กลับคืนมาได้เร็วยิ่งขึ้น
การบริหารไหล่เบื้องต้น

ท่าที่ 1
ท่าที่ 1 สามารถทำในท่านอนหงายบนเตียงหรืออาจจะอยู่ในท่านั่งหรือยืนก็ได้  แล้วทำการเหยียดแขนโดยยกแขนขึ้นตรงเหนือศีรษะอาจจะใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วย จับประคองที่ข้อศอกของแขนข้างที่ยกเพื่อช่วยดันให้มีการยกแขนได้มากขึ้นโดย จะมีความรู้สึกตึงบริเวณหัวไหล่ของแขนข้างที่ยก แต่ถ้ารู้สึกเจ็บปวดมากอาจจะลดระดับลงไม่จำเป็นต้องยืดให้สุดในครั้งแรกทำ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ราบเรียบและไม่เร่งรีบ เป็นจังหวะไป-กลับ ประมาณ 30 ครั้ง ถ้ามีอาการปวดมากทั้งขณะทำหรือภายหลังการออกกำลังกายควรหยุดการออกกำลังกาย ในท่านี้จนกว่าอาการปวดจะดีขึ้นหากอาการปวดไม่ทุเลาหรือมีอาการมากขึ้นควร ปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
ท่าที่ 2  ทำได้ทั้งท่ายืนและท่านั่ง โดยทำการยืดแขน โดยการยื่นแขนมาด้านหน้าลำตัวพร้อมกับไขว้ผ่านลำตัวใช้มืออีกข้างจับประคอง ที่ข้อศอกของแขนข้างที่ทำการยืดและออกแรงดันแขนไปให้สุดทำการยืดเป็นจังหวะ ไป-กลับประมาณ 30 ครั้ง
      
ท่าที่ 2                                 ท่าที่ 3

ท่าที่ 3 ท่าเริ่มต้นอยู่ในท่ายืนหรืออาจจะอยู่ในท่านั่ง ใช้ผ้าเช็ดตัวพาดผ่านไหล่ไปข้างหลัง ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับชายผ้าไว้ ขยับมือทั้งสองข้างขึ้นลงพร้อมๆกันทำการยืดเป็นจังหวะขึ้น-ลงประมาณ 30 ครั้ง และทำอีกข้างหนึ่งโดยการสลับมือ


การรักษาโดยการผ่าตัด
           เป็นวิธีการที่แพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่มีอาการติดมาเป็นเวลานานคิดว่าไม่ สามารถดัดได้ หรือในผู้ป่วยที่กระดูกบางมากอาจเกิดการหักในระหว่างการดัด แพทย์จะทำการส่องกล้องเข้าไปในข้อไหล่แล้วทำการตัดเนื้อเยื่อหรือ พังผืดที่ติดอยู่ออกผู้ป่วยจะมีแผลเป็นรูเจาะ แต่ที่สำคัญคือต้องมีการขยับและเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดทันทีเพื่อป้องกันไม่ ให้ข้อไหล่กลับมาติดอีก


No comments: