นายพิชัย นริพทะพันธุ์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช
และคณะทำงานทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 22 ตุลาคม 2557 18:40 น |
ASTVผู้จัดการ - อดีต รมว.พลังงาน เผยเศรษฐกิจไทยส่อดิ่งเหว อ้างยื้ออัยการศึก
ต่างชาติไม่เชื่อมั่น ท่องเที่ยวหด ส่งออกโคม่า แนะยกเลิกพร้อมกำหนดวันเลือกตั้งให้ชัด
ดึงนักลงทุนกลับ กังขา “ประยุทธ์นิยม” ไม่เข้าใจหลักช่วยคนจน
เหน็บแจก 1,000 บาทต่อไร่ละลายแม่น้ำ เหตุไม่ยึดโยงผลผลิต
ค้านแหลกภาษีมรดก หวั่นผลักเงินไหลออกนอก-ลงใต้ดิน
บทความนี้ น่าจะให้การศึกษากับสาธารณะได้
โดยไม่เลือกว่า จะอยู่ฝ่ายการเมืองไหน
ขอให้อ่านและทำความเข้าใจอย่างมีสัมมาสติ
อย่าด่วนเชื่อ หรือไม่เชื่อ เพราะบทความ
เป็นความคิดเห็น ตวามเชื่อ ของปัจเจกบุคคล
อาจจะถูก หรือไม่ถูก ก็ได้
และคณะทำงานฝ่ายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับ “ทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ”
ถึงการประเมินแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงหลังจากนี้ว่า
ต้องยอมรับว่าขณะนี้ในแง่ของเศรษฐกิจโลกก็อยู่ในภาวะซบเซา ทั้งทางยุโรป จีน หรือญี่ปุ่น
ที่ยังดูมีปัญหาอยู่ ขณะที่สหรัฐอเมริกาก็อาจจะฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจโลก
ในด้านต่างๆจึงไม่เจริญเติบโตมากนัก ส่วนเศรษฐกิจไทยนั้นยังต้องพึ่งต่างประเทศเป็นหลัก
เฉพาะการส่งออกก็คิดเป็น 70% ของจีดีพีแล้ว เมื่อต่างประเทศไม่ดี เราก็ไม่ดีไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ที่กระทบอย่างชัดเจนกับทั้งการส่งออก
การท่องเที่ยวและการลงทุนต่างๆ ซึ่งช่วงก่อนที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร 22 พ.ค.57
ประเทศไทยก็มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปัญหาที่สะสมมากอยู่แล้ว
พอมีการรัฐประหารก็ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศไทยหายไปเลย
“ทั่วโลกจะให้การยอมรับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย พอเราไม่เป็นประชาธิปไตยปุ๊บ
ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของต่างชาติลดน้อยลง โดยเฉพาะการคงประกาศกฎอัยการศึกไว้
อันนี้กระทบชัดเจนทั้งในแง่ท่องเที่ยว ที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเรา” นายพิชัย ระบุ
ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของต่างชาติลดน้อยลง โดยเฉพาะการคงประกาศกฎอัยการศึกไว้
อันนี้กระทบชัดเจนทั้งในแง่ท่องเที่ยว ที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเรา” นายพิชัย ระบุ
นายพิชัย กล่าวต่อว่า มีการประเมินว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวหายไปราว 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน
แต่ในความเป็นจริงมีความเสียหายมากกว่านั้น ทั้งการเติบโตที่ต้องขยายตัวขึ้น 7-10% รวมแล้ว
เท่ากับว่าเราเสียหายด้านการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 20% และที่สำคัญตัวเลขนักท่องเที่ยว 10%
ที่หายไปเป็นกลุ่มของนักท่องเที่ยวที่มีฐานะดี ซึ่งมีอัตราการจับจ่ายใช้สอยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป
กลุ่มคนเหล่านี้ก็หลีกเลี่ยงที่จะมาเมืองไทย เพราะประกันภัยไม่ครอบคลุมในพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก
รัฐบาลจะไปรับผิดชอบก็ลำบาก บางรายมีทุนประกันสูงถึงหลักพันล้านบาทก็มี
ฉะนั้นหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้อยู่ ตัวเลขด้านการท่องเที่ยวก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
ในแง่การส่งออกของประเทศไทยนั้น อดีต รมว.พลังงาน วิเคราะห์ว่า เมื่อเรามีปัญหาภายในกระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ ก็ย่อมทำให้เราส่งออกสินค้าได้น้อยลงไปโดยปริยาย อีกทั้งยังทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเราหายไป อัตราการเติบโตด้านการส่งออกของไทยต่ำที่สุดในอาเซียนมา 2 ปีติดต่อกันแล้ว จนจะกลายเป็นตัวถ่วงของภูมิภาค ถือเป็นสัญญาณที่อันตรายมาก เนื่องจากเรามีอัตราการจ้างงานมาก แต่ยอดการส่งออกไม่เพิ่ม ซึ่งวิธีแก้ไขต้องเริ่มปรับเทรนด์ใหม่ จากเดิมที่เราเด่นในแง่ของถูก ซึ่งตอนนี้มีคู่แข่งสำคัญเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา ที่มีต้นทุนด้านต่างๆถูกกว่าเรา เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกระดับ ให้เราเป็นศูนย์กลางในการผลิตและส่งออก โดยนำอุปกรณ์ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยพื้นฐานที่เราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อนบ้านก็ยังต้องมาพึ่งพิงอยู่ตราบใดที่เขายังไม่สามารถพัฒนาไปได้มาก แม้ตัวเลขการเติบโตจะสูงกว่าเราก็ตาม ทั้งนี้เมื่อตัวเลขการส่งออกเราไม่ขึ้น ก็กระทบกับการจะเป็นผู้นำอาเซียนของเราด้วย
“การจะเป็นผู้นำอาเซียนได้ อยู่ที่ความเชื่อมั่นของคนอื่น ไม่ใช่ประเทศเรามาประกาศเอง เราจึงต้องพิสูจน์ความมีศัยภาพด้านต่างๆด้วย เพราะถ้ายุโรปก็ไม่เอา อเมริกาก็ไม่ยอมรับ ความเชื่อถือต่างต่อเราก็น้อยลงไป” นายพิชัย กล่าว
นายพิชัยยังได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยจะถูกสหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในสินค้าหลายประเทศในวันที่ 1 ม.ค. 58 เป็นต้นไปว่า ผลความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะถึงหลักแสนล้านเหรียญสหรัฐ สวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลพยายามบอกว่า อัตราการส่งออกในปีหน้าจะเติบโตราว 4-5% ถามว่าจะโตจากส่วนไหน เพราะเราจะขาดตลาดที่สำคัญ ทั้งอียูที่ประกาศตัดจีเอสพีเราแล้ว หรือสหรัฐอเมริกาก็ตั้งแง่กับเรา หากอเมริกาตัดจีเอสพีเราด้วย ก็จะเสียหายอีกหลายต่อ จะมามุ่งการค้าขายในอาเซียนก็ต้องยอมรับว่าตอนนี้ตลาดอาเซียนยังไม่เติบโต มาก การค้าระหว่างกันส่วนใหญ่ก็เป็นพวกอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก ต่อไปเท่านั้น ทั้งนี้การถูกตั้งสิทธิจีเอสพี ไม่ได้กระทบเฉพาะการส่งออก ยังส่งผลกระทบในแง่การลงทุนด้วย เพราะนักลงทุนก็ต้องคำนึงถึงสิทธิจีเอสพีว่าเราจะได้คืนเมื่อใด หากไม่มีกำหนดระยะเวลา นักลงทุนก็ต้องแสวงหาตัวเลือกที่ประเทศอื่นที่มีสิทธิจีเอสพี ซึ่งจะส่งผลดีกับสินค้าของเขามากกว่า
คณะทำงานฝ่ายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวย้ำด้วยว่า การที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังการคงประกาศกฎอัยการศึกไว้นั้น ส่วนตัวมีความเป็นห่วงมาก เพราะปัจจุบันจะเห็นว่ามีความพยายามที่จะนำความมั่นคงของรัฐบาลมาเป็นตัว ตั้งในการขับเคลื่อนประเทศ โดยการประกาศกฎอัยการศึกเอาไว้ ซึ่งมุมหนึ่งก็เข้าใจในแง่ความจำเป็นต่อภาวะการเมือง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่ดี สุดท้ายก็จะทำให้รัฐบาลมีปัญหาเอง เมื่อคนเดือดร้อน ไม่มีรายได้ ก็กระทบความมั่นคงของรัฐบาลอยู่ดี จึงอยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบว่า สิ่งใดควรจะเป็นปัจจัยหลักที่รัฐบาลต้องคำนึงถึง
“ถ้าเศรษฐกิจดี ความมั่นคงของรัฐบาลก็มาเองปัญหาหลักของเราตอนนี้ คือความมั่นใจของต่างประเทศ ถ้าความมั่นใจของต่างชาติไม่เกิด ประเทศเราเดินยาก เศรษฐกิจเราเป็นเสี้ยวเดียวของโลก เรายังต้องพึ่งพาต่างประเทศตลอด สิ่งที่จะสร้างความมั่นใจได้ดีที่สุด ก็คือความเป็นประชาธิปไตย ถ้าคุณสามารถกำหนดวันชัดเจนว่าจะเลือกตั้งได้เมื่อไร ก็อาจจะทำให้ต่างชาติเชื่อมั่นมากขึ้น และให้โอกาสเรา แต่ถ้าไปบอกว่าคงต้องเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร ต่างชาติก็ยากที่จะเข้าใจ ดังนั้นสิ่งที่ต้องกลับมาดูคือการเข้าสู่ประชาธิปไตยมีแผนงานแน่นอนหรือยัง” นายพิชัย ระบุ
นายพิชัย กล่าวว่า เบื้องต้นการบยกเลิกกฎอัยการศึกมีความสำคัญมาก ทั้งเรื่องการท่องเที่ยว การลงทุน หรือการส่งออกจะกลับมาดีขึ้น เพราะต่างชาติเขาไม่เข้าใจว่า ทำไมคุณยังต้องมี Martial law หรือกฎอัยการศึกอยู่ เพราะในต่างประเทศหากมีกฎอัยการศึกถือเป็นเรื่องใหญ่มาก มีการจลาจล มีความวุ่นวาย มีการฆ่ากัน ซึ่งในประเทศไทยตอนนี้ไม่มีเหตุการณ์เช่นนั้น แต่เราประกาศไว้เพื่อป้องกัน ก็ส่งผลให้ต่างชาติคือว่า ประเทศเราไม่ปลอดภัย ยังมีปัญหาอยู่ การจะเข้ามาลงทุนหรือทำสัญญาต่างๆก็ไม่ได้อยู่ในระบบของกฎหมายธรรมดา ส่วนในแง่การส่งออกนั้น เมื่อเราอยู่ในภาวะเช่นนี้ ต่างชาติก็มีทางเลือกที่จะสั่งสินค้าจากที่อื่น เพราะเขาก็ต้องคิดว่า หากสั่งของแล้วไม่ได้ เขาก็เสียหาย เขาก็เลือกทำการค้ากับประเทศที่ไม่มีปัญหาดีกว่า
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าหลายๆ มาตรการของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์เข้าข่ายการทำประชานิยมเหมือนรัฐบาลพรรคไทยรักไทยหรือรัฐบาล พรรคเพื่อไทยนั้น นายพิชัยมองว่า เราต้องถามตัวเองก่อนว่าอะไรคือประชานิยม ไม่อยากให้มองว่าสิ่งไหนเป็นประชานิยมหรือไม่ได้เป็นประชานิยม เพราะบางสิ่งก็ถูกแปลงความหมายไปจนผิดเพี้ยน ถามว่าการช่วยชาวนา กองทุนหมู่บ้าน หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคคือประชานิยมหรือไม่ ถ้ามองว่าการช่วยชนชั้นล่าง คนด้อยโอกาส หรือผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการประชานิยมหรือไม่ดี อย่างนี้หลักคิดคุณผิด เราต้องทำความเข้าใจหลักคิดของโครงการนั้นๆก่อน แนวนโยบายของรัฐที่ถูกต้องในการจะทำประชานิยมหรือการช่วยคนระดับล่างนั้น ควรจะเป้นการให้เขาสามารถหารายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะนำเงินไปให้เขาเฉยๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือเกษตรกร สิ่งที่ให้ไปควรที่จะยึดโยงกับผลผลิตมากกว่าที่จะยึดโยงกับพื้นที่มากกว่า
“การแจก 1,000 บาทต่อไร่ให้ชาวนาหรือคนที่มีที่ดินอย่างนี้ไม่น่าจะใช่ แต่ถ้าให้เงินเพิ่มต้องยึดหลัก Productivity (ความสามารถในการสร้างสรรค์ความคิดต่างๆ) ที่ยังทำให้คนขยันปลูกหรือทำงานเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ แล้วเอาเงินไปให้เขา อย่างการแจกเงิน 1,000 บาทต่อไร่กลายเป็นว่าเจ้าของที่ดินก็ได้ ชาวนาก็ได้ กลายเป็นซ้ำซ้อน มีการสวมสิทธิ์กันอีก และอาจจะมีปัญหาซ้ำรอยโครงการประกันรายได้ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์” นายพิชัย ระบุ
นายพิชัยยังได้กล่าวถึงเสียงสะท้อนที่ว่าโครงการประชานิยมต่างๆส่งผล เสียต่อภาพรวมของประเทศด้วยว่า โครงการต่างๆที่ผ่านมาก่อนรัฐบาดชุดนี้ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศเจ๊ง วันนี้เรามีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีราว 46% เท่านั้น ส่วนประเทศที่ทำประชานิยมจนเจ๊งหนี้ต้องสูงเป็น 100% กว่าแล้ว หลายประเทศในยุโรปที่มำในเรื่องรัฐสวัสดิการ ยอดหนี้สาธารณะสูงมาก แต่ของเรายังถือว่าไม่สูงมาก คงไม่ถึงกับจะล้มละลายอย่างที่มีคนนำไปพูด
สำหรับประเด็นการตรากฎหมายเรียกเก็บภาษีที่ดิน หรือภาษีมรดก ที่มีการพูดกันว่าจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำหรือการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน ประเทศนั้น อดีต รมว.พลังงาน มองว่า ในส่วนภาษีมรดกหากพิจารณาจริงๆแล้วไม่น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาหลายประเทศก็ยกเลิกเรื่องเหล่านี้ไปพอสมควรแล้ว คือทุกประเทศส่งเสริมให้คนทำมาหากินและเก็บออม ซึ่งตรงนี้ก็เสียภาษีมาตลอด แต่สุดท้ายถึงเวลาจะส่งต่อให้ลูกหลานกลับมาถูกเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อนไปอีก กลายเป็นว่าอีกหน่อยก็แห่นำเงินไปฝากที่ต่างประเทศ หรือนำออกนอกระบบไปลงใต้ดินจนหมด ก็ส่งผลเสียกับศรษฐกินของประเทศมากกว่า เชื่อว่าถึงเวลาจริงก็เก็บไม่ได้ แล้วก็ต้องยกเลิก ขณะที่ภาษีที่ดินหรือทรัพย์สินอาจจะทำได้ และควรจะมีในระดับหนึ่ง
“เรื่องภาษีมรดกเหมือนการ Propaganda (โฆษณาชวนเชื่อ) ว่ารัฐจะไปเก็บภาษีจากคนรวย รัฐไม่ได้เห็นแก่คนรวยนะ แต่ถามว่าคนจนได้ประโยชน์ไหม คงไม่มาก แค่ได้ความรู้สึกสะใจที่คนรวยลำบาก หลักคิดจริงๆแล้วทุกประเทศต้องส่งเสริมให้คนรวยมีมากขึ้น ให้มีคนรวยเยอะๆ ต้องหาทางที่ทำให้คนรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น และกลายเป็นคนรวยขึ้นเยอะๆมากกว่า ประเทศถึงจะเจริญขึ้น ไม่ใช่ลากคนรวยลงมา แล้วให้คนจนสะใจ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง” นายพิชัย กล่าวในช่วงท้าย
No comments:
Post a Comment