เทคโนโลยีสารสนเทศ
Special Experienced Teacher
Information and Communication Technology Strand
Occupation and Technology Group
1.1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้โลกของเราก้าวหน้ามากกว่ายุคใดๆ
ในอดีต ทำให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากมายชนิดที่คนรุ่นพ่อหรือรุ่นปู่ของเราไม่เคยนึกฝันว่าจะทำได้มาก่อน คอมพิวเตอร์ช่วยให้มนุษย์สามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกได้มากมาย ดาวเทียมบางดวงกำลังมองลงมาบนผิวโลกด้วยนัยน์ตาที่คมกริบ บางดวงกำลังถ่ายทอดสดรายการโทรทัศน์ให้ผู้ชมหลายพันล้านคนได้เห็นการแข่งขันฟุตบอลได้พร้อมกันทั่วโลก บางดวงเดินทางมุ่งสู่ขอบจักรวาลอันไกลโพ้นเพื่อถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ห่างไกลออกไปนับพันล้านไมล์มาให้เราดู
ดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลก ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร |
โครงข่ายไฟเบอร์อ็อปติกส์ (Fiber Optic Cables) ใต้ทะเล |
ในมหาสมุทรมีเส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cables)ทอดวางอยู่อย่างสงบ แต่ข้างในกำลังทำหน้าที่ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระยะทางไกลๆ เสมือนเส้นเลือดใหญ่ของระบบเครือข่าย ทำให้เราสามารถเรียกข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา |
คอมพิวเตอร์หลายเครื่องในโรงเรียนกำลังให้บริการศึกษาค้นคว้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียน บางเครื่องกำลังจัดทำระบบฐานข้อมูล ขณะที่อีกหลายเครื่องใช้ประกอบการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ในห้องประชุมอาจกำลังนำเสนอข้อมูลต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์อีกหลายเครื่องอาจกำลังใช้พิมพ์เอกสารคำสอนหรือข้อสอบให้กับคุณครู บางเครื่องอาจจะใช้คิดคำนวณเงินเดือนบุคลากรและรายรับรายจ่ายของโรงเรียน แต่ละปีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนับแสนคน ต้องคร่ำเคร่งอยู่กับการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการสอบใหญ่ที่ทำกับนักเรียนทั้งประเทศนั้นจะไม่มีทางทราบผลสอบได้ทันเวลาเลย หากยังใช้คนมานั่งตรวจข้อสอบ คิดคะแนน และจัดเรียงลำดับผู้สอบผ่านเข้าเรียนในสาขาต่างๆ ตามที่ที่ผู้สอบเลือกสมัครไว้ ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
คอมพิวเตอร์ ณ จุดจ่ายเงิน ในบริการค้าปลีก (ห้างสรรพสินค้า) |
ผู้คนในสมัยนี้มีพฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยแตกต่างไปจากในอดีต ศูนย์การค้าหลายแห่งเปิดให้บริการจนถึงกลางคืน อาจใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดและผู้ที่ตรวจสอบบัตรเครดิตว่าใช้ชำระเงินได้หรือไม่ได้ก็คือคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีตู้เอทีเอ็มติดตั้งเอาไว้ให้เรียกเงินสดได้ทันใจ คอมพิวเตอร์อีกนั่นแหละที่จะคอยตรวจสอบว่ามีเงินอยู่ในบัญชีหรือไม่ ถ้ามีก็ยอมให้ถอนเงินได้ ในส่วนของผู้บริหารศูนย์การค้าก็สามารถทราบยอดสินค้าที่จำหน่ายออกไปแล้วและยอดสินค้าที่อยู่ในสต็อคแม้จะมีจำนวนสินค้าจำนวนมากมายหลายพันหลายหมื่นรายการก็ตาม เพราะมีคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดทำระบบฐานข้อมูลสินค้า
คอมพิวเตอร์ในทางการแพทย์ |
คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลยุคใหม่มีอยู่มากมายหลายแบบ บางเครื่องกำลังถูกใช้บันทึกประวัติคนไข้ บางเครื่องกำลังค้นหายาที่แพทย์สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วย บางเครื่องก็ทำการคำนวณและสร้างภาพสมองของคนไข้จากการสแกนด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ ขณะที่บางเครื่องอาจจะกำลังหาชีพจรของผู้ป่วยหนักในห้องไอซียู หรือคอมพิวเตอร์บางเครื่อง
ตลาดหลักทรัพย์ (ตลาดหุ้น Stock Exchange) |
คอมพิวเตอร์ในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อสื่อสารด้านราคาหุ้นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นผลให้เกิดการหมุนเวียนเงินตราเกิดกระแสการลงทุน และยังสมารถทราบการขึ้นลงของราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย
1.2 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล เรียกใช้ ถ่ายทอด และนำเสนอด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
1.3 ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพ ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ทำให้งานต่างๆ ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ลักษณะสำคัญมีดังนี้
1.3.1 Speed ความเร็ว เพราะคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารล้วนเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานโดยอาศัยสัญญาณทางไฟฟ้า จึงทำงานได้อย่างรวดเร็วมาก
1.3. 3 Storage Capability ความสามารถในการเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบันสามารถเก็บโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเอาไว้ได้ การเรียกใช้งานจึงทำได้ง่ายและสะดวก
หน่วยเก็บข้อมูลแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ZComputer Storages) |
1.3.4 Wide Applicability ประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง คอมพิวเตอร์มีความสามารถมากมาย จึงนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง จึงมีความคุ้มค่าต่อการนำมาใช้งาน
Computer can be applied to many fields. สามารถประยุกต์ใช้งานคอมพวเตอร์ได้อย่างหลากหลาย |
1.4 Impacts ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายของข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วทุกทิศทาง จึงส่ง
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านด้วยกัน โดยมีแนวโน้ม ดังนี้
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านด้วยกัน โดยมีแนวโน้ม ดังนี้
วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ เข้าสู่ยุคสารสนเทศ (Information Age) |
1.4.1 Information Society เปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ สังคมมนุษย์มีเปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อน จากสังคมแบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เมื่อมนุษย์เริ่มใช้เครื่องจักรมาช่วยในการทำงาน ปัจจุบันสังคมได้เข้าสู่ยุคสารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง
On Demand Service |
1.4.2 On Demand สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ จะมีลักษณะของการสื่อสารแบบสองทางและโต้ตอบกันได้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำได้ เช่น การใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ทำงานได้ทั้งปี ทั้งวันทั้งคืน และทั้งปี |
1.4.3 Anytime & Anyplace เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่ ทุกเวลา ระยะทางหรือสภาพภูมิศาสตร์ไม่เป็นปัญหา ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนแห่งตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องมีวันหยุด และสามารถใช้บริการจากที่บ้านได้
Globalization Economics |
1.4.4 Globalization เปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นไปเป็นเศรษฐกิจโลก ขอบเขตการให้บริการจะขยายวงกว้างออกไปแบบไร้พรมแดน ระบบเศรษฐกิจของโลกจะเชื่อมโยงและมีผลกระทบต่อกัน เช่น สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีการเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
การวางแผนระยะยาว |
1.4.5 Long Range Planning ก่อให้เกิดแผนงานระยะยาว เพราะระบบข้อมูลมีความสมบูรณ์ การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลและสารสนเทศทำให้มีความรอบคอบและลดข้อผิดพลาดลงได้ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะต้องทำการศึกษาวิจัยนำร่อง และทำประชาพิจารณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้กระบวนการทำงานยากๆ เหล่านี้สำเร็จลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว
Network Organization |
1.4.6 Network Organization การจัดองค์กรจะมีลักษณะเป็นเครือข่าย เพราะมีระบบการสื่อสารสองทางและกระจายอำนาจ สร้างเครือข่ายผูกพันกันเป็นกลุ่มงาน รวมถึงข้ามหน่วยงานกันได้ไม่ยาก เช่น กระทรวง กรม กองต่างๆ จะเชื่อมโยงข้อมูลกันมากขึ้น ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศตัวเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) เพื่อให้การบริการต่อประชาชนทำได้ดีขึ้น
พัฒนาการคอมพิวเตอร์
ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทันสมัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องคำนวณมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มตั้งแต่ ลูกคิด (abacus) ซึ่งคาดกันว่าชาวจีนเมื่อหลายพันปีมาแล้วเป็นผู้พัฒนาขึ้น และมีการพัฒนาเครื่องคำนวณต่อมาอีกเรื่อยๆ
Mechanical Calculator (เครื่องคำนวณเชิงกลไก ) ผลงานของ Blaise Pascal |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2237 ไลบ์นิซ (Leibniz) ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่สามารถคูณและหารได้ และยังมีผู้พัฒนาเครื่องคำนวณต่อเนื่องกันมา
เครื่องคำนวณของLeibniz |
Difference Engine |
Difference Engine เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์ |
Charles Babbage กับเครื่องคำนวณที่สามารถป้อนโปรแกรมได้ (Programable Device) มีชื่อเรียกว่า Analytical Engine |
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางกองทัพต้องการเครื่องคำนวณเพื่อใช้ในกิจการทหาร
โดยศาสตราจารย์ ไอเคน (Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และให้ชื่อว่า มาร์ควัน (Mark I )
Harvard Mark-I |
2.1 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 : ยุคหลอดสุญญากาศ Vacuum Tubes (พ.ศ.2488 – 2501)
มอชลี (Mouchly) และ เอคเคิร์ท (Eckert) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศชื่อ ENIAC ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ และเครื่องคำนวณที่ใช้หลอดสุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่นด้วยกัน ซึ่งหลอดสุญญากาศ Vacuum Tubes เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ กินไฟฟ้ามาก เพราะต้องเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอนวิ่งผ่านแผ่นตาราง มีการพัฒนาหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ระยะแรกใช้บัตรเจาะรู แต่ทำงานได้ช้า จึงได้พัฒนาวงแหวนแม่เหล็กและ
หลอดสุญญากาศ Vacuum tube |
2.2 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 : ยุคทรานซิสเตอร์ Transistors (พ.ศ.2500 – 2507)
ทรานซิสเตอร์เป็นผลงานของนักวิจัยแห่งบริษัทเบลล์ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์ Transistors มีขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟน้อย ทนทานและราคาถูกกว่าหลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงมีขนาดเล็กลง สามารถผลิตเพื่อการค้า ได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์ยุคนี้ส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เช่น องค์การนาซ่า (NASA) ใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณและควบคุมยานอวกาศต่างๆ ในยุคแรก และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
Transistors |
Transistors |
2.3 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 : ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508 – 2512)
ในยุคนี้มีการพัฒนาวิธีการสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิคอนขนาดเล็ก ทำให้เกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิคอนที่เรียกว่า ไอซี (Integrated Circuit : IC) พัฒนาการของไอซีทำให้คอมพิวเตอร์มีความซับซ้อนสูงขึ้น มีวงจรการทำงานที่ทำการคิดคำนวณจำนวนเต็มได้เป็นหลายล้านครั้งต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาหน่วยความจำที่ใช้ไอซี และมีการพัฒนาหน่วยเก็บข้อมูลมาเป็นฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กลงมาก อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์เริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
integrated circuit วงจรรวม หรือ monolithic integrated circuit ( IC, a chip, or a microchip) |
2.4 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 : ยุคไมโครโพรเซสเซอร์ (พ.ศ.2513-ปัจจุบัน)
ในยุคนี้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าถึงขั้นสร้างวงจรรวมที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากรวมไว้ในแผ่นซิลิคอนขนาดเล็กเรียกว่า วงจรวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated: VLSI) เป็นวงจรที่สามารถนำทรานซิสเตอร์นับล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิคอนขนาดเล็กเพียงแผ่นเดียว ผลิตเป็นหน่วยประมวลผลที่ซับซ้อนเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้สามารถผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูง คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ทีใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
Microprocessor |
เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถพัฒนาวงจรวีแอลเอสไอให้มีจำนวนทรานซิสเตอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ชิปประมวลผลในปัจจุบันจึงมีขีดความสามารถสูงขึ้นเป็นทวีคูณ จึงทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้พร้อมกันหลายงาน และยังเชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เน็ตเวิร์ก (Network)
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันยังมีความสามารถประมวลผลข้อมูลได้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นคิดคำนวณตัวเลข ประมวลข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว คอมพิวเตอร์สมัยใหม่จึงทำงานกับสื่อได้ทุกประเภทหรือสื่อประสม (Multimedia)
No comments:
Post a Comment